รถติดแก๊ส LPG NGV ทำประกันรถยนต์ได้หรือไม่?

604 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รถติดแก๊ส LPG NGV ทำประกันรถยนต์ได้หรือไม่?

ในช่วงที่ราคาน้ำมันผันผวนแบบนี้ คงเป็นเรื่องที่ไม่ดีนักสำหรับคนที่ต้องใช้รถเป็นประจำหรือต้องเดินทางไกลบ่อยๆ เพราะอาจจะต้องเสียเงินไปกับค่าน้ำมันค่อนข้างมาก ทำให้ใครหลายคนเลือกที่จะหันไปติดแก๊สเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักแทนการใช้น้ำมัน ไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV เพราะสามารถเซฟค่าน้ำมันไปได้เยอะ แต่ก็ยังมีหลายคนที่สงสัยอยู่ว่า เมื่อนำรถยนต์ไปติดแก๊ส LPG หรือ NGV แล้ว จะสามารถทำประกันรถยนต์ได้หรือไม่? และประกันรถยนต์จะคุ้มครองหรือเปล่า เราจะพาไปหาคำตอบกัน

รถติดแก๊ส ทำประกันรถยนต์ ได้หรือไม่

สำหรับใครที่ใช้รถและต้องการเปลี่ยนจากน้ำมันไปเป็นแก๊ส LPG หรือ NGV ต้องเลือกร้านหรือศูนย์ติดตั้งที่มีมาตรฐานรับรองอย่างถูกต้อง อีกทั้งต้องแจ้งเปลี่ยนชนิดการใช้เชื้อเพลิงไปยังกรมขนส่งทางบก รวมไปถึงแจ้งบริษัทประกันรถยนต์ก่อนที่จะทำประกันรถยนต์ทุกครั้ง เพราะหากเกิดความเสียหายกับตัวรถขึ้น ประกันรถยนต์อาจไม่รับผิดชอบในส่วนของตัวถังแก๊สที่ติดตั้งมาเพิ่มเติม และในบางบริษัทประกันรถยนต์อาจไม่รับผิดชอบทั้งตัวรถและตัวถังแก๊สของคุณ

ประกันรถยนต์ประเภทไหนบ้าง ที่คุ้มครองรถติดแก๊ส

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้รถติดแก๊ส และต้องการทำประกันรถยนต์ที่สามารถคุ้มครองรถติดแก๊สได้เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้น เนื่องจากรถติดแก๊สมีความเสี่ยงมากกว่ารถที่ใช้น้ำมัน โดยประเภทประกันรถยนต์ที่มีความคุ้มครองในกรณีเกิดไฟไหม้ มีดังนี้

- ประกันรถยนต์ชั้น 1
- ประกันรถยนต์ชั้น 2
- ประกันรถยนต์ชั้น 2+ นอกจากคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้แล้ว ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ยังสามารถส่งซ่อมห้าง ซ่อมอู่แบบคุ้มครองเต็มปีและมีความคุ้มครองแบบระยะสั้น 30 90 และ 180 วันให้คุณเลือกได้ตามความต้องการอีกด้วย 

โดยประกันรถยนต์ทั้ง 3 ประเภทนี้จะรับผิดชอบความเสียหายในกรณีที่เกิดไฟไหม้ แต่จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 จะคุ้มครองครอบคลุมทุกรณี ประกันรถยนต์ชั้น 2+ จะซ่อมรถคันที่เอาประกันเฉพาะมีคู่กรณีเท่านั้น รวมไปถึงสามารถส่งรถซ่อมห้างได้ ส่วนประกันรถยนต์ชั้น 2 จะไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถ แต่ทั้ง 3 ประเภทนี้ยังให้ความคุ้มครองคู่กรณี ค่ารักษาพยาบาลและอุบัติเหตุส่วนบุคคลของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมไปถึงเงินประกันตัวผู้ขับขี่อีกด้วย

รถติดแก๊สแบบไหนที่ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครอง

สำหรับรถที่ติดแก๊ส ก็มีบางกรณีที่ทางบริษัทประกันรถยนต์จะไม่ให้ความคุ้มครอง ดังกรณีต่อไปนี้

- รถติดแก๊สที่ตัวถังไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน มอก. หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 
- ผู้เอาประกันภัยติดตั้งแก๊สหลังจากที่ทำประกันรถยนต์แล้ว และไม่มีการส่งเอกสารแจ้งบริษัทประกันรถยนต์ ว่าได้ติดตั้งถังแก๊สให้กับบริษัทประกันรถยนต์
- ไม่ได้แจ้งข้อมูลแก่กรมขนส่งทางบกหลังจากนำไปรถติดแก๊สแล้ว ในกรณีนี้ทางบริษัทประกันรถยนต์ก็จะไม่ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีกรณีต่างๆ ที่ทางบริษัทประกันรถยนต์จะไม่ให้ความคุ้มครอง ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ ในแต่ละกรมธรรม์ โดยผู้ขับขี่จะต้องสอบถามไปยังบริษัทประกันรถยนต์ เกี่ยวกับตัวกรมธรรรม์นั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

วิธีดูแลรถติดแก๊ส

รถติดแก๊ส ไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV จะต้องหมั่นดูแลรักษาอุปกรณ์และตัวถังให้ดีอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติและมีความปลอดภัย ซึ่งวิธีตรวจเช็กและดูแลรถติดแก๊ส ก็มีดังต่อไปนี้

  1. ตรวจเช็กตัวถังอยู่เสมอว่ามีกลิ่นแก๊สรั่วออกมาหรือไม่
  2. ตรวจเช็กตัวกล่อง ECU ที่ควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิงทุก 5,000 - 10,000 กิโลเมตร
  3. ตรวจเช็กพร้อมกับตั้งวาล์วใหม่ทุกครั้ง เมื่อใช้รถถึงระยะทาง 40,000 กิโลเมตร
  4. ตรวจเช็กตัวกรองแก๊สเพื่อป้องกันฝุ่นและสนิม และควรเปลี่ยนเมื่อถึงระยะ 100,000 กิโลเมตร
  5. ตรวจเช็กหัวฉีดแก๊สทุก 3 ปี
  6. เปลี่ยนถังแก๊สใหม่เมื่อติดตั้งครบ 10 ปี
  7. ตรวจเช็กสายยางที่เชื่อมต่อกับระบบถังแก๊ส โดยใช้น้ำสบู่ เพราะหากเกิดสายยางรั่ว น้ำสบู่จะเป็นฟองอากาศ
ได้ทราบกันแล้วนะครับว่า รถติดแก๊ส สามารถทำประกันรถยนต์ได้หรือไม่ อีกทั้งยังได้รู้เกี่ยวกับแผนประกันรถยนต์ ที่รถติดแก๊สสามารถทำประกันรถยนต์เพื่อคุ้มครองตัวรถอีกด้วย รวมไปถึงวิธีการดูแลรถติดแก๊สให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 สำหรับใครที่สนใจจะสมัครสมาชิกกับศรีกรุงโบรคเกอร์  สามารถสมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ได้ที่เว็บไซต์  www.srikrungmentor.com  หรือแอดไลน์มาที่  @srikrungmentor  เพียงกดเพิ่มเพื่อนที่  https://lin.ee/5hl2T56  หรือติดต่อสมัครสมาชิกศรีกรุงสาขาปทุมธานี ดีดีศูนย์รวมประกันภัย  รังสิตคลองสาม 
โทร080-2951830 / 080-2956052 /061-8235619

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้