369 จำนวนผู้เข้าชม |
เรื่องที่คนมีรถยนต์ ใช้รถจักรยานยนต์บนท้องถนนต้องทำเป็นประจำทุก ๆ ปี นั่นคือ การชำระภาษีรถประจำปี ชำระค่าพ.ร.บ. และชำระค่าประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งเป็นรายจ่ายที่คนมีรถต้องเตรียมเงินสำรองไว้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า รถยนต์ที่เราขับ รถจักรยานยนต์ที่เราขับขี่นั้น ต้องเสียเงินเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ
1. ความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
2. น้ำหนักรถ
3. อายุรถ
ซึ่งหลักการคำนวนภาษี จะยึดตามอัตราภาษีรถ ตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 โดยจะจัดเก็บ 4 ประเภทด้วยกัน คือ
1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยมีอัตรา ดังนี้
600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท
ทั้งนี้ หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ ให้จัดเก็บในอัตราสองเท่า นอกจากนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
ปีที่ 6 ร้อยละ 10
ปีที่ 7 ร้อยละ 20
ปีที่ 8 ร้อยละ 30
ปีที่ 9 ร้อยละ 40
ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50
ซึ่งรถเก๋งส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในประเภทนี้ จึงจะยกตัวอย่างการคำนวณภาษีประเภทนี้ให้พอเห็นภาพนะคะ
ขั้นที่ 1 ดู ซีซี ของรถเรา จากสมุดคู่มือรถ
สมมติว่ารถเราความจุกระบอกสูบ 2,979 ซีซี
ขั้นที่ 2 เอา ไปเที่ยบกับตารางนี้ ว่าเราอยู่ในข้อไหน
1. 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
2. 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
3. เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท
ถ้าอยู่ในข้อ 1 ให้เอา "ความจุกระบอกสูบ (ซีซี)" ไปคูณ 0.5 ได้เลยคะ
เช่น รถ 400 ซีซี จะเท่ากับ 400x0.5 = 200 บาท
ถ้าอยู่ในข้อ 2 ให้เอา "ความจุกระบอกสูบ (ซีซี)" ไปลบ 600 แล้วคูณกับ 1.5 จากนั้นเอาไปบวก 300 (เรตภาษี 600 ซีซี แรก) ค่ะ
เช่น รถ 1,200 ซีซี จะเท่ากับ (1,200-600)x1.5 = 900 บาท + 300 บาท (เรตภาษี 600 ซีซีแรก) รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
ถ้าอยู่ในข้อ 3 ให้เอา "ความจุกระบอกสูบ (ซีซี)" ไปลบ 1800 แล้วคูณกับ 4 จากนั้นเอาไปบวก 300 (เรตภาษี 600 ซีซี แรก) 1800 (เรตภาษี 601-1800 ซีซี) ค่ะ
เช่น รถ 2,000 ซีซี จะเท่ากับ (2,000-1,800)x4 = 800 บาท + 300 บาท (เรตภาษี 600 ซีซีแรก) + 1800 บาท (เรตภาษี 601-1800 ซีซี) รวมเป็นเงิน 2,900 บาท
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบอายุรถของเรา
ถ้าปีที่ 1-5 คำนวณขั้นที่ 2 ได้เท่าไหร่ก็ชำระตามนั้นได้เลยค่ะ
ถ้าปีที่ 6 ได้ส่วนลด 10 % จาก 1,200 เหลือ 1,080 บาท (10/100 * 1,200 = ส่วนลด 120 บาท)
ถ้าปีที่ 7 ได้ส่วนลด 20 % จาก 1,200 เหลือ 960 บาท (20/100 * 1,200 = ส่วนลด 240 บาท)
ถ้าปีที่ 8 ได้ส่วนลด 30 % จาก 1,200 เหลือ 840 บาท (30/100 * 1,200 = ส่วนลด 360 บาท)
ถ้าปีที่ 9 ได้ส่วนลด 40 % จาก 1,200 เหลือ 720 บาท (40/100 * 1,200 = ส่วนลด 480 บาท)
ถ้าปีที่ 10 ขึ้นไป ได้ส่วนลด 50 % จาก 1,200 เหลือ 600 บาท (50/100 * 1,200 = ส่วนลด 600 บาท)
2. จัดเก็บเป็นรายคัน โดยรถประเภทตามข้อ 2 นี้ ค่าภาษีในแต่ละปีจะตายตัว
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
- รถพ่วงนอกจากข้อข้างต้น คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
3. จัดเก็บตามน้ำหนัก ได้แก่ รถประเภท
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดรถยนต์บริการ
- รถยนต์รับจ้าง
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลรถลากจูงรถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร
4. รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน
- รถอื่นนอกจาก 4.1 ให้เก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของรถตามข้อ 2 และ 3
ที่นี่ก็ทราบแล้ว ว่าจะไปชำระภาษีรถยนต์ครั้งต่อไปควรจะเตรียมเงินไปเท่าไหร่ แต่สำคัญที่สุด คือ อย่าลืมไปชำระภาษีนะคะ เพราะถ้าปล่อยให้เลยกำหนดชำระภาษีจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ของภาษีที่จะต้องชำระ คูณด้วยจำนวนเดือนที่เลยกำหนดชำระ (เศษของเดือนปัดเป็น 1 เดือน)