รถ 1 คัน ต้องมี 3 อย่าง

414 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รถ 1 คัน ต้องมี 3 อย่าง

3 สิ่งสำคัญที่รถ 1 คันต้องมี!!

 1. ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
     ? พ.ร.บ. คุ้มครองคน ไม่คุ้มครองรถ
     ? เมื่อเกิดเหตุหากมีคนเจ็บ หรือเสียชีวิต ต้องเบิกจาก พ.ร.บ. ก่อนทุกครั้ง
     ? หากวงเงินไม่พอจึงจะไปเบิกจากภาคสมัครใจ
     ? หากไม่มี พ.ร.บ. ต่อภาษีประจำปีไม่ได้
     ? รถไม่มี พ.ร.บ. โทษปรับ 20,000 บาท
     ? ปรับคนขับ 10,000 บาท
     ? ปรับเจ้าของรถ 10,000 บาท

     ในกรณีขาดการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่ต้องเสียค่าปรับในการต่อ พ.ร.บ. ใหม่อีกครั้ง แต่จะส่งผลให้มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจแล้วเจ้าของรถไม่มีหลักฐานแสดงหรือขาดต่อ พ.ร.บ. ก็จำเป็นที่จะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายนั่นเอง และหลังจากที่เสียค่าปรับแล้วนั้นหากรถคันไหนไม่ได้ทำการต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้อีกด้วย และเมื่อไม่ได้เสียภาษีรถยนต์หรือปล่อยไว้นานจนทะเบียนรถขาด เจ้าของรถจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนอีกด้วย
 
2. ต่อภาษี (ป้ายสี่เหลี่ยม)
     ? เป็นการเสียภาษีประจำปีตามกฎหมาย
     ? รถยนต์เกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.
     ? มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปี ต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.
     ? โทษปรับไม่ต่อภาษี 400 - 1,000 บาท
     ? ไม่ต่อภาษีเกิน 3 ปี ถูกระงับทะเบียนและจะต้องนำรถไปตรวจใหม่ที่ขนส่ง             เท่านั้น

       ขั้นตอนการต่อภาษี
       1. ตรวจสภาพรถยนต์
       หากรถยนต์ที่ใช้มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่
       สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แล้วนำใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการ         ต่อภาษีรถยนต์อีกครั้ง
       2. ต่อ พ.ร.บ. หรือ ทะเบียน รถยนต์
       ก่อนต่อภาษีรถยนต์ ต้องอย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะจะได้นำเอกสาร           แนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์ มาใช้ในการต่อทะเบียนหรือต่อ           ภาษีรถยนต์นั่นเอง 
       3. ขอเอกสารรับรองการติดแก๊ส (ในกรณีที่รถมีการติดแก๊ส )
       ไม่ว่าจะเป็นแก๊ส NGV หรือ LPG ต้องขอเอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สจาก         สถานที่ติดตั้งแก๊สไว้ด้วย เพราะถือว่ารถยนต์ดังกล่าวมีการดัดแปลง ต้อง         แจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก 
       4. เตรียมเอกสารการต่อภาษีรถยนต์ ก่อนยื่นให้สถานที่รับต่อภาษี
          ? เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
          ? พ.ร.บ. รถยนต์
          ? ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
          ? เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ              LPG)
       5. ชำระภาษีรถยนต์ตามสถานที่ดังนี้
          ? สำนักงานขนส่งทางบก
          ? ที่ทำการไปรษณีย์
          ? เคาน์เตอร์เซอร์วิส
          ? ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
          ? ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th

3. ประกันภาคสมัครใจ (ความคุ้มครองตามประเภทการรับประกัน)
          ? มีความคุ้มครองให้เลือกหลากหลายตามประเภทการใช้งาน
          ? คุ้มครองค่าซ่อมรถและทรัพย์สินของคู่กรณี
          ? คุ้มครองรถตัวเองตามประเภทที่ซื้อ
          ? คุ้มครองค่ารักษาส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ.
          ? คุ้มครองกรณีเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และประกันตัวผู้ขับขี่

 ประเภท 1, 2, 3,ประเภท 5 (2+, 3+) หรือแบบประกันที่ท่านเลือกตามความเหมาะสมต่อการใช้รถ รถยนต์ 1 คัน ต้องมี พ.ร.บ. หรือที่เราเรียกว่า ประกันภัยภาคบังคับ หากท่านหยิบเอกสารในรถขึ้นมา และเปิดดู จะเขียนว่า..
       “ ตารางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ” กรณีการเกิดเหตุ มีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต สามารถเบิกจ่ายค่ารักษา ค่าชดเชย จาก พ.ร.บ. ได้  และส่วนเกินค่ารักษา สามารถเบิกได้จากประกันภัยภาคสมัครใจได้ค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมต่อ พ.ร.บ. เพราะใช้ในการต่อภาษี หากไม่มี พ.ร.บ. ท่านจะถูกปรับในวงเงิน สูงสุดถึง 10,000 บาท เลยทีเดียว
       เมื่อท่านมี พ.ร.บ. แล้ว ท่านสามารถนำ พ.ร.บ. ไปใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ค่ะ ซึ่งสามารถไปต่อได้ที่กรมขนส่งทางบกจังหวัดได้ทั่วประเทศไทย เอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ได้แก่ ส่วนท้ายหรือหาง พ.ร.บ. ตัวจริง หรือ สำเนา พ.ร.บ และ รายการจดทะเบียนรถยนต์ (สำเนาทะเบียนรถยนต์หรือเล่มจริง)
       แต่สำหรับรถเก๋ง, กระบะ, รถตู้ ที่อายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุเกิน 5 ปี รวมถึง รถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ที่ขาดต่อภาษีนานเกิน 1 ปี ท่านจะต้อง ได้รับการตรวจสภาพรถ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
       สุดท้าย ที่รถทุกคันควรจะต้องมี นั่นคือ ประกันภัยภาคสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1  ประกันชั้น 2, 2+  ประกันชั้น 3, 3+ ซึ่งท่านสามารถเลือกซื้อแบบประกันที่มีความคุ้มครอง ในเรื่องของการมีค่าซ่อมรถ หรือไม่มีก็ได้ค่ะ ที่สำคัญในส่วนเกินจากค่ารักษา ของ พ.ร.บ. ท่านสามารถเบิกเพิ่มเติมได้จากประกันภัยภาคสมัครใจค่ะ
       ดังนั้นการมีทั้ง 3 อย่างนี้ให้กับรถของคุณที่ใช้ขับขี่อยู่ทุกวันๆ จะทำให้การเดินทางของคุณทุกครั้งมีความอุ่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะถูกต้องตามกฎหมายแล้วยังช่วยคุ้มครองทั้งตัวคุณและรถที่คุณรักอีกด้วย

สนใจติดต่อโทร
☎️ 080-2956052 คุณบอย
☎️ 080-2951830 คุณปูเป้

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้